วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Research Methods in Pub. Admin.)
แนวทางในการแสวหาความรู้ (Approaches to knowledge)
การพึ่งพาผู้ที่มีอำนาจ (Authoritarian Mode )
การพึ่งพาอำนาจลี้ลับ (Mystical Mode)
การใช้หลักแห่งเหตุผล (Rationalistic Mode) Syllogistic method Aristotelian deduction
การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Mode)

วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. มีปัญหาเกิดขึ้นและเราต้องการคำตอบ
2. นิยามปัญหา หรือกำหนดขอบเขตปัญหาให้ชัดเจน
3. ตั้งสมมุติฐาน
4. กำหนดวิธีการทดสอบสมมุติฐาน
5. เก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมุติฐาน

Francis Bacon (1600 A.D) Inductive method
• วิทยาศาสตร์ (science) ต้องมีลักษณะเป็น logico-empirical
คือข้อสรุปต้องเป็นเหตุผลเชื่อมโยงกับข้อมูลที่เราสังเกต และข้อมูลต้องเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data)
Research process is a current paradigm in scientific inquiry.
• Paradigm หมายถึงกระบวนทัศน์ หรือ กรอบการมอง หรือกรอบการวิเคราะห์ที่ชุมชนทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่ง ในขณะใดขณะหนึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
• Thomas Kuhn เป็นผู้ใช้คำนี้ในงานเขียนของเขาชื่อ Scientific Revolution
• new paradigm, competing paradigm, double paradigm,
• no commonly agreed paradigm, no paradigm etc.

ขั้นตอนต่าง ๆในกระบวนการวิจัย
• 1. ปัญหาที่นำไปสู่การวิจัย (Problem)
• 2. การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)
• 3. การออกแบบการวิจัย (Research Design)
• 4. การวัด (Measurement)
• 5. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
• 6. การวิเคราะห์ (Data Analysis)
• 7. การสรุปผล (Generalization)


การวิจัยคืออะไร
- เป็นการแสวงหาคำตอบสำหรับสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการอธิบาย และการทำนาย
- การวิจัยทำให้เกิดการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
- การวิจัยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ
- การวิจัยทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
ประเภทของการวิจัย
1. แยกตามการเอาผลงานวิจัยไปใช้
- การวิจัยพื้นฐาน (basic research)
- การวิจัยประยุกต์ (applied research)
2. แยกตามประเภทของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)
- การวิจัยเอกสาร (documentary research)
3. แยกตามวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
- การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
- การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
4. แยกตามการออกแบบการวิจัย
- การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research)
- การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research)
- การวิจัยเชิงอนาคต (Future research)
ขั้นตอนต่าง ๆในกระบวนการวิจัย
1. ปัญหาที่นำไปสู่การวิจัย (Problem)
2. การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)
3. การออกแบบการวิจัย (Research Design)
4. การวัด (Measurement)
5. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
6. การวิเคราะห์ (Data Analysis)
7. การสรุปผล (Generalization)

การเลือกปัญหาการวิจัย
1. เรื่องที่เราสนใจ มีความสำคัญ และ มีประโยชน์
2. เรื่องที่เรามีความรู้ มองเห็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องชัดเจน
3. ไม่กว้าง หรือแคบเกินไป
4. กำหนดวิธีการวิจัยได้อย่างมีเหตุผล ทำสำเร็จได้ในเวลาอันควร
5. สำหรับวิทยานิพนธ์ หรือ การค้นคว้าอิสระ ต้องอยู่ในสาขา
6. ยังไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน ถ้ามีก็จะต้องมีเหตุผลในการทำซ้ำ (เช่น ซ้ำแต่จำเป็น)

ข้อควรระวัง
1. เรื่องที่อ่อนไหว (i.e. เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน พฤติกรรมทางเพศ)
2. เรื่องที่สามารถหาคำตอบได้โดยไม่ต้องทำการวิจัย (i.e. จราจรติดขัดบริเวณสี่แยก)
3. เรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบได้โดยการวิจัยเชิงประจักษ์ (i.e. นรก- สวรรค์มีจริงหรือ)

เริ่มเลือกปัญหาอย่างไร เริ่มตรงไหน
1. ห้องสมุด (computer search CD-ROM วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ฯลฯ)
2. สถานการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจ นโยบายสำคัญของรัฐบาล
3. ผู้เชี่ยวชาญ (อาจารย์ การประชุมสัมมนาทางวิชาการ นักบริหาร)
4. ประกาศเกี่ยวการให้ทุนการวิจัย วารสารทางวิชาการ หนังสือเวียนต่าง ๆ

ต.ย. เราสนใจปัญหาความยากจนของเกษตรกร
ประเด็นที่สนใจ เรื่องหนี้สินของเกษตรกร
แคบลงมาอีก เกษตรกรประเภทไหน (ชาวนา ชาวสวนลำใย หรือชาวไร่ยาสูบ ฯลฯ)
ชื่อเรื่อง : ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรชาวไร่ยาสูบในภาคเหนือตอนบน

ต.ย. เราสนใจปัญหาการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น
ประเด็นที่สนใจ ความพร้อมขององค์กรปกครองท้องถิ่น
แคบลงมาอีก องค์กรปกครองท้องถิ่นอะไร (เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ)
ชื่อเรื่อง การประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับการกระจายอำนาจ : กรณีศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่

ชื่อเรื่อง :................................................
ปัญหาที่นำไปสู่การวิจัย (Statement of the Problem)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. …………………………………………………...
2. …………………………………………………..
3. ………………………………….. ……………….
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. …………………………………………………...
2. …………………………………………………..
3. ………………………………….. ……………….
ขอบเขตของการวิจัย
…………………………………………………………………..
……………………………………………………………………...
……………………………………………………………………...
……………………………………………………………………...
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
คำนิยาม (Definitions)
1. คำนิยามเชิงความคิด (Conceptual definition)
หมายถึงความพยายามในการนำเอาแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาอธิบายถ้อยคำที่ต้องการสื่อความหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น
อำนาจ หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งสามารถจะออกคำสั่งให้บุคคลอึกคนหนึ่งกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้ออกคำสั่งต้องการได้ ซึ่งตามปกติบุคคลผู้รับคำสั่งจะไม่กระทำเช่นนั้น
ชนชั้นทางสังคม หมายถึงการจำแนกบุคคลในสังคมออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ บนพื้นฐานของลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ของสังคมนั้น ๆ
2. คำนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational definition)
หมายถึงความพยายามในการวัดคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราต้องการสื่อความหมายออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวอย่างเช่น
ชนชั้นทางสังคม (เราจะวัดอย่างไร)
ชั้นสูง ในการวิจัยนี้หมายถึง..…………………………………
ชั้นกลาง ในการวิจัยนี้หมายถึง …………………………………….
ชั้นต่ำ ในการวิจัยนี้หมายถึง ……………………………………
การให้คำนิยามในเชิงปฏิบัติการ (วัดได้) นี้เรียกว่า Operationaliza- tion คือเราจะ operationalize อย่างไร และในการวิจัยนั้นเราจะต้อง operationalize ตัวแปรสำคัญที่เรากำลังศึกษาเสมอ
ความแปลกแยก (Alienation) เราจะ operationalize อย่างไร
ความแปลกแยก
องค์ประกอบระดับแนวความคิด
1. ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจ (Powerlessness)
2. ความรู้สึกว่าไม่มีความหมายในชีวิต (Meaninglessness)
3. ความรู้สึกว่าไม่มีระเบียบกฏเกณฑ์ (Normlessness)
4. ความรู้สึกโดดเดี่ยว(Isolation)
5. ฯลฯ
องค์ประกอบระดับปฏิบัติการ
1. ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจ (Powerlessness) วัดอย่างไร……...
2. ความรู้สึกว่าไม่มีความหมายในชีวิต (Meaninglessness) วัดอย่างไร ….
3. ความรู้สึกว่าไม่มีระเบียบกฏเกณฑ์ (Normlessness) วัดอย่างไร …….
4. ความรู้สึกโดดเดี่ยว(Isolation) วัดอย่างไร …………………….
แต่ละองค์ประกอบจะต้องสร้างเป็นแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อวัดองค์ประกอบเหล่านั้น

การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
หมายถึงการตรวจสอบดูว่ามีการทำวิจัยในเรื่องที่ตรงหรือใกล้เคียงกับเรื่องที่เราสนใจจะทำวิจัยมาก่อนบ้างหรือไม่ ถ้ามีทำโดยใคร ทำในแง่มุมไหน และทำไว้ตั้งแต่เมื่อไร
เราควรจะอ่าน (Review) งานเหล่านั้น แล้วสรุปข้อค้นพบของงานวิจัยเหล่านั้นอย่างย่อ ๆ ไว้ในส่วนของการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้เราทราบทิศทางของการวิจัยและสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ในขณะที่เราทำวิจัย
ข้อสังเกต
การทบทวนวรรณกรรมนี้ผู้ทำวิจัยควรสรุปงานวิจัยที่ตนกำลังทบทวน (Review) ด้วยถ้อยคำของตนเอง (Rewrite) ไม่ควรตัดตอน หรือคัดลอกข้อความมาจากต้นฉบับทั้งดุ้น หรือคัดลอกการทบทวนวรรณกรรมของคนอื่นมาเป็นการทบทวนของตนเองซึ่งถือว่าเป็นการโขมยผลงานหรือความคิดของผู้อื่น (Plagiarism)
สมมุติฐาน ( Hypothesis)
สมมุติ + ฐาน
Hypo + thesis
ข้อความที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเพื่ออธิบายข้อเท็จจริง เงื่อนไข หรือพฤติกรรมที่ผู้วิจัยใช้เป็นกรอบในการวิจัย
หรืออึกนัยหนึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นักวิจัยคาดเดาไว้ล่วงหน้า (Conjectures) ว่าควรจะเป็นไปในลักษณะใด
ลักษณะของสมมุติฐานที่ดี
1. ชัดเจน และวัดได้
2. ไม่ควรแสดค่านิยมอยู่ในข้อความ (i.e. ลูกควรมีความกตัญญูต่อพ่อแม่)
3. มึลักษณะเจาะจง ไม่กว้างจนเกินไป (i.e. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นไปอย่างมีเหตุผล (logico-empirical)
5. ทดสอบได้ในเชิงประจักษ์
การวิจัยจำเป็นต้องมีสมมุติฐานเสมอไปหรือไม่
- ไม่จำเป็นต้องมีทุกกรณี
- Exploratory research
- Descriptive research
- Future research
- Ex-post facto hypothesis
ชนิดของสมมุติฐาน
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) H1:
เป็นสมมุติฐานที่แสดงความแตกต่าง อาจจะกำหนดทิศทาง หรือไม่กำหนดทิศทางก็ได้
- เช่น น้ำหนักเฉลี่ยของเด็กในเมืองและเด็กในชนบทแตกต่างกัน (ไม่กำหนดทิศทาง)
- น้ำหนักเฉลี่ยของเด็กแรกเกิดในเมืองสูงกว่าของเด็กในชนบท (กำหนดทิศทาง)
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) Ho:เป็นสมมุติฐานที่ไม่แสดงความแตกต่าง กำหนดขึ้นเพื่อทำการทดสอบทางสถิติ บางครั้งเรียกว่า Null hypothesis
เราจะอาศัยหลักอะไรในการตั้งสมมุติฐาน
1. สามัญสำนึก
2. วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ (i.e. ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ แสดงถึงอิทธิพลของการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ๆ)
3. ประสบการณ์
4. ทฤษฏี และตัวแบบต่าง ๆ
5. หลักเทียบเคียง (i.e to seek its own kind)

ตัวแปร (Variables)
ตัวแปร (Variables) คือสิ่งที่เราสนใจศึกษา เป็นสิ่งที่เราพยายามจะทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของมัน และความสัมพันธ์ของมันกับตัวแปรตัวอื่น ๆ สมมุติฐานในการวิจัย คือการคาดคะเนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่เราคาดคะเนไว้ล่วงหน้านั่นเอง
ตัวแปรจะต้องแปรค่าได้ คือต้องมีค่าได้มากกว่าหนึ่งค่า ถ้ามีค่า
เดียวก็จะเป็นตัวคงที่ -A variable varies.
ชนิดของตัวแปร
1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ได้แก่ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตัวอื่น เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนแปลงก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนตัวอื่น
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ตัวแปรที่รับอิทธิพลจากตัวแปรตัวอื่น ตัวแปรนี้บางทีเรียกว่าตัวแปรพี่งพา ตัวแปรตามคือตัวแปรที่เราสนใจศึกษา
3.ตัวแปรแทรก (Intervening Variable) ได้แก่ตัวแปรที่แทรกอยู่ตรงกลางระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม และอาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม
-ในการทดสอบความความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ผู้วิจัยควรระลึกอยู่เสมอว่า ความเปลี่ยนแปลงบนตัวแปรตามอาจจะมิได้เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระที่เราคิด แต่อาจจะมีตัวแปรตัวอื่นเข้ามาแทรกอยู่และเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลที่แท้จริงต่อตัวแปรตาม ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเป็นความสัมพันธ์ลวง (Spurious relationship) คือดูเหมือนมีความสัมพันธ์แต่ที่จริงไม่ใช่ (ต.ย. รสนิยมฟังเพลงกับเขตที่อยู่อาศัย อาจเป็น spurious relationship)

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
การวิจัยเป็นการศึกษาความสัมพันะระหว่างตัวแปร และความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจะช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น สามารถอธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้
ต.ย. การใช้จ่ายเงินเกินตัว วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
1. ความสัมพันธ์แบบสมมาตร (Symmetrical Relationship)
เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ไม่เป็นเหตุและเป็นผลแก่กันและกัน เช่นเก่งภาษาอังกฤษ และเก่งคณิตศาสตร์ ลำไยออกดอก และความยุ่งยากทางการเมือง จำนวนนกกระสา กับการอัตราเกิดของประชากร
2. ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทน (Reciprocal Relationship)
ต่างก็เป็นทั้งเหตุและผล ของกันและกัน เช่น เทอร์โมสตัท กับ อุณหภูมิ กำไร กับการเพิ่มทุน ไก่ กับ ไข่
3. ความสัมพันธ์แบบอสมมาตร (Asymmetrical Relationship)
เป็นความสัมพันธ์แบบ มีทิศทางเดียว (Unidirectional) คือ จากเหตไปสู่ ผล เช่น การเปลี่ยนแปลงระดับการศึกษา กับการเปลี่ยนแปลงรายได้ การศึกษาสูงขึ้นทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบอสมมาตร
1. ความสัมพันธ์จะเกิดขึ้นหมายความว่าตัวแปรทั้งสองต้องมีความแปรผันร่วมกัน (Covariation) เช่น การศึกษา กับ รายได้ ตัวแปรตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงอึกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงด้วย
2. ทิศทางของความสัมพันธ์ (Direction)
2.1ทิศทางเดียวกัน หรือความสัมพันธ์เชิงบวก (positive relationship) ต.ย. การศึกษาสูงขึ้น
รายได้สูงขึ้น
2.2 ทิศทางตรงข้าม หรือความสัมพันธ์เชิงผกผัน (negative or inverse relationship) ต.ย. ดอกเบี้ย กับ ปริมาณ เงินกู้ของธนาคาร (ในภาวะปกติ)
3. ขนาดของความสัมพันธ์ (magnitude)
3.1 ความสัมพันธ์เต็มขนาด (Perfect relationship) หมายถึง ตัวแปรตัวหนึ่งอธิบายตัวแปรอีกตัวหนึ่งได้อย่างเต็มที่
3.2 ความสัมพันธ์บางส่วน (Partial relationship) หมายถึง ตัวแปรตัวอธิบายตัวแปรอีกตัวหนึ่งได้แต่เพียงบางส่วน
3.3 ไม่มีความสัมพันธ์เลย (Zero relationship) หมายถึง ตัวแปรตัวหนึ่งไม่สามารถอธิบายตัวแปรอีกตัวหนึ่งได้เลย
ความสัมพันธจึงมักมีค่าตั้งแต่ -1----0-----+1

ตัวแปรทดสอบ (Test Factors)
เพื่อให้แน่ใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ความสัมพันธ์ลวง (spurious relationship) มักจะทำการทดสอบความสัมพันธ์โดยการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรบางตัวที่อาจจะเข้ามามีอิทธิพลต่อตัวแปรตามดูว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามที่กำลังศึกษาจะยังคงอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ ตัวแปรต่าง ๆ ที่นำมาทดสอบดูนี้เรียกว่าตัวแปรทดสอบ (Test Factors)
ชนิดของตัวแปรทดสอบ
1. ตัวแปรภายนอก (Extraneous variable)
Psychosis and Civilization (กลุ่มอายุ เฉพาะกลุ่มอายุสูงมากเท่านั้นซึ่งอาจะเป็นผลมาจาก senile dementia)
2.ตัวแปรองค์ประกอบ (Component variable)
เป็นการค้นหาว่าองค์ประกอบ (component) อะไรที่มีอิทธิพลจริง ๆ ต่อตัวแปรตาม
เช่นชนชั้นทางสังคมกับวิธีการเลี้ยงดูบุตร (ในอิตาลี และในสหรัฐ)
3. ตัวแปรแทรก (Intervening Variable) คือตัวแปรที่แทรกอยู่ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
ต.ย. การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมือง
การศึกษา ความเชื่อ การมีส่วนร่วมทางการเมือง
คนมีการศึกษาต้องมีความเชื่อมั่นว่าการเมืองเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ การเมืองไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายอย่างที่หลายคนคิด
4. ตัวแปรปฐมเหตุ (Antecedent Variable) เป็นตัวแปรที่มาก่อนตัวแปรอิสระ หรือเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอิสระอีกทีหนึ่งเช่น
การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมือง
แล้วอะไรกำหนดการศึกษาของคนเรา
อาชีพบิดามารดา การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมือง
5. ตัวแปรกด (Suppressor Variable) หมายถึงตัวแปรที่ไปกดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามให้ต่ำลงกว่าที่เป็นจริง ๆ ถ้าควบคุมอิทธิพลของตัวแปรตัวนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามจะสูงกว่าที่เป็นอยู่ เช่น
ความเป็นยิว อัตราฆ่าตัวตายที่ต่ำ
6. ตัวแปรบิดเบือน (Distortor Variable) คือตัวแปรที่เมื่อควบคุมอิทธิพลของมันแล้วความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามจะกลับทิศทางกันเป็นตรงกันข้าม เช่นครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อว่า
คนแต่งงานแล้วมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนโสด ปรากฏว่าเมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุแล้วปรากฏว่า ทุกกลุ่มอายุของคนที่แต่งงานแล้วมีอัตราการฆ่าตัวตายที่ต่ำกว่าคนโสดทั้งสิ้นยกเว้นในกลุ่มอายุที่น้อยมาก ๆ ซึ่งทำให้ภาพรวมการฆ่าตัวตายของคนแต่งงานแล้วมีสูงกว่าคนโสด

ตัวแปรและระดับการวัด
การวัด (Measurement)
หมายถึงการกำหนดค่าลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สามารถจำแนกประเภท จัดลำดับ กำหนดปริมาณ หรือขนาดของ สิ่งที่เราต้องการจะวัดได้ เช่น :

รถยนต์ปิคอัพ 3 ประเภท
Toyota Nissan Mitsubishi

1. Efficiency
2. Style
3. Service
4. Price

รถยนต์ปิคอัพ 3 ประเภท
Toyota Nissan Mitsubishi

1. Efficiency 5 4 4
2. Style 4 4 4
3. Service 5 4 3
4. Price 4 5 4
รวม 18 17 15

ระดับการวัด (Level of Measurement)
1. การวัดในระดับจัดประเภท (Nominal Level) บางครั้งเรียกว่าNominal scale การวัดในระดับนี้ทำได้เพียง
- จำแนกประเภทของสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น
- ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงเครื่องหมายบอกประเภท
ต.ย. เพศ ศาสนา เผ่าพันธุ์ ภูมิภาค ฯลฯ
การจัดประเภทต้องใช้หลัก
- Exhaustive และ
- Mutually exclusive
ตัวแปรที่วัดได้ในระดับนี้เรียกว่าตัวแปรในระดับ Nominal level หรือ Nominal scale
ตัวแปรประเภทนี้เรียกว่า Nominal variable
2. การวัดในระดับจัดลำดับ (Ordinal Level) บางครั้งเรียกว่า
Ordinal scale การวัดในระดับนี้เราสามารถ จำแนกประเภทได้ และจัดลำดับได้ ว่าอะไรสูง-ต่ำกว่ากัน หรืออะไรมากกว่า อะไรน้อยกว่าอะไร
- ตัวเลขที่กำหนดลงไปเป็นแต่เพียงค่าแสดงลำดับ (Rank value) เท่านั้น
ต.ย. เช่น ชั้นยศทหาร ความงาม การวัดทัศนคติต่าง ๆ ฯลฯ
- ตัวแปร ที่วัดได้ในระดับนี้เรียกว่าตัวแปรในระดับ Ordinal level หรือ Ordinal scale
ตัวแปรประเภทนี้เรียกว่า Ordinal variable
ข้อสังเกต ตัวแปรในการวิจัยทางสังคมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ
Nominal และ Ordinal level เท่านั้น
3. การวัดในระดับจัดช่วง (Interval Level) บางครั้งเรียกว่าInterval scale การวัดในระดับนี้เราสามารถ จำแนกประเภทได้ และจัดลำดับได้ ว่าและวัดช่วง หรือระยะห่างที่แน่นอนของค่าแต่ละค่า ด้วยเหตุนี้ ค่าที่วัดได้เราจึงสามารถนำไปบวก ลบ กันได้ในทางคณิตศาสตร์ เพราะมีระยะห่างที่แน่นอน
ต.ย. เช่นอุณหภูมิ เชาวน์ปัญญา ฯลฯ ซึ่งสามารถโดยเครื่องมือวัด ที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ หรือแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา
- ตัวแปร ที่วัดได้ในระดับนี้เรียกว่าตัวแปรในระดับ Interval level หรือ Interval scale
ตัวแปรประเภทนี้เรียกว่า Interval variable
ข้อสังเกต Interval variable นี้ไม่มีค่าศูนย์ตามธรรมชาติ หรือค่าศูนย์ที่แท้จริง (No natural zero point) จึงไม่สามารถนำค่าที่วัดได้ ไป คูณ หาร กันได้
4. การวัดในระดับอัตราส่วน (Ratio Level) บางครั้งเรียกว่าRatio scale การวัดในระดับนี้เราสามารถ จำแนกประเภทได้ จัดลำดับได้ วัดช่วง หรือระยะห่างที่แน่นอนของค่าแต่ละค่าได้เหมือน Interval scale ทุกอย่าง และยังสามารถเทียบเป็นอัตราส่วนได้ เนื่องจากตัวแปรในระดับนี้มีค่าศูนย์ธรรมชาติที่แท้จริง
- ค่าที่วัดได้จึงสามารถนำมา บวก ลบ คูณ หาร ในทางคณิตศาสตร์ได้
ต.ย. เช่น ความยาว พื้นที่ รายได้ ฯลฯ
- ตัวแปร ที่วัดได้ในระดับนี้เรียกว่าตัวแปรในระดับ Ratio level หรือ Ratio scale
ตัวแปรประเภทนี้เรียกว่า Ratio variable
- เนื่องจาก Ratio variable ต่างจาก Interval variable
เพียงแค่มี หรือไม่มี Naural zero point เท่านั้น ตำราภาษาอังกฤษ
หลายเล่มจึงเรียกตัวแปรทั้ง 2 ชนิดนี้รวม ๆ กันว่า Interval variable
หมายเหตุ - ตัวแปรที่อยู่ในระดับการวัดที่สูงกว่าจะครอบคลุมลักษณะการวัดในระดับที่ต่ำกว่าทั้งหมด
- สถิติที่ใช้สำหรับตัวแปรระดับต่ำจึงใช้กับตัวแปรในระดับที่สูงกว่าได้ เพราะตัวแปรในระดับสูงมีคุณสมบัติครอบคลุมคุณสมบัติของตัวแปรระดับต่ำกว่าไว้ด้วย
- แต่ สถิติที่ใช้สำหรับตัวแปรระดับสูงจะไม่สามารถใช้กับตัวแปรในระดับที่ต่ำกว่าได้ เพราะตัวแปรในระดับต่ำไม่มีคุณสมบัติของตัวแปรระดับสูงอยู่ในตัวของมัน


การออกแบบวิจัย (Research Design)
หมายถึง การกำหนดวิธีการอย่างเป็นขั้นตอนไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล เพื่อช่วยให้นักวิจัยสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่สนใจศึกษา และสามารถนำผลการวิจัยไปอ้างสรุปเป็นข้อเสนอทั่วไป(generalization) สำหรับประชากรในวงกว้างได้ ด้วยความมั่นใจ

การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
ต.ย.
Rosenthal & Jacobson, Pygmalion in the Classroom
Concepts: Pygmalion Effect
สมมุติฐาน: ความเชื่อของครูเกี่ยวกับความสามารถของนักเรียนมีผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียน
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
สถานที่วิจัย: โรงเรียนแห่งหนึ่งในชุมชนผู้มีรายได้น้อย

การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค(Classic Experimental Design)
Pre-test Treatment Post-test Differences
E.G. R O1 X O2 O2-O1=de
C.G. R O3 - O4 O4-O3=dc

E.G = Experimental Group หรือกลุ่มทดลอง
C.G = Control Group หรือกลุ่มควบคุม
R = Random selection หรือการเลือกแบบสุ่ม
Pre-test = การทดสอบก่อน
Post-test = การทดสอบหลัง
Treatment = การใส่ตัวแปรอิสระลงไป ( X = ใส่ - = ไม่ใส่)
de = ผลต่างของกลุ่มทดลอง dc = ผลต่างของกลุ่มควบคุม
เพื่อเป็นการยืนยันว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระ X ผลการทดลองควรจะออกมาดังนี้
O2 > O1
O2 > O4
de > dc
แต่อาจะมี Hawthorne Effect มารบกวนการทดลองได้

Solomon Four-Group Design
Pre-test treatment Post-test
E.G. R O1 X O2
C.G. R O3 - O4
E.G. R - X O5
C.G. R - - O6

ในการออกแบบการทดลองแบบ 4 กลุ่มนี้ จะมีกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม ถ้าผลการทดลองยืนยันไปในทิศทางเดียวกันคือ O2 > O1, O2 > O4, O5 > O6, และ O5 > O3 จะทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมากจากตัวแปรอิสระ X ที่เราใส่เข้าไปในกลุ่มทดลอง ไม่ได้เกิดมาจาก Hawthorne Effect (ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่การทำPre-test นั่นเอง)

Post-test-Only Control Group Design
treatment Post-test
R X O1
R - O2

Experimental Design for Delayed Effect
(ทดสอบผลซ้ำอีกครั้งหลังเวลาผ่านไป 6 เดือน หรือ 1 ปี)
Pre-test treatment Post-test Post-test
R O1 X O2
R O3 - O4
R O5 - O6
R O7 - O8

Two-Independent-Variable Design (Factorial Design)
ต.ย. ความสัมพันธ์ของการกระจายอำนาจและขนาดขององค์การต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน
ใหญ่ เล็ก
กระจายอำนาจสูง X1 X2
กระจายอำนาจต่ำ X3 X4

X1 = ขนาดใหญ่ กระจายอำนาจสูง
X2 = ขนาดเล็ก กระจายอำนาจสูง
X3 = ขนาดใหญ่ กระจายอำนาจต่ำ
X4 = ขนาดเล็ก กระจายอำนาจต่ำ
จากนั้น ทำ Post-test Only เพื่อวัดผลต่อ Morale ของพนักงาน

ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity)
หมายถึงความถูกต้องของเครื่องมือวัด หรือกระบวนการวิจัยหรือความถูกต้องในการสรุปความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่าความเปลี่ยนแปลงในตัวแปรอิสระทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตามอย่างแท้จริง
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity)
1. ปัจจัยภายนอก (Extrinsic factors)
- ความลำเอียงในการเลือกตัวอย่าง
- กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันโดย ธรรมชาติอยู่แล้ว
- ฯลฯ
2. ปัจจัยภายใน (Intrinsic factors)
- เหตุการณ์พ้อง (History)
- การเปลี่ยนแปลงในตัวประชากรที่ศึกษา (Maturation)
- ทางร่างกาย (biological)
- ทางด้านจิตใจ (psychological)
- การสูญเสียประชากรที่ศึกษา (Experimental loss)
- ฯลฯ
ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity)
หมายถึงความสามารถในการนำผลการวิจัยไปอ้างสรุปไปสู่ประชากรในวงกว้าง (Generalizability)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ความเที่ยงตรงภายนอก
1. ความเป็นตัวแทนของตัวอย่าง (Representativeness of sample)
2. สภาพการทดลองที่สอดคล้องหรือคล้ายคลึงกับ ความเป็นจริง (Reactive arrangement)

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
- การวิจัยประเภทนี้ผู้วิจัยมักทำการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) จากประชากรมาจำนวนหนึ่งแล้วทำการศึกษาจากตัวอย่าง (Sample)นั้น
- บางครั้งเราจึงเรียกว่าการวิจัยการวิจัยแบบนี้ว่า เป็นการวิจัยโดยการสำรวจจากตัวอย่าง (Sample Survey Research)
- ผลการวิจัยจากตัวอย่างจะสามารถนำไปอ้างสรุปถึงประชากรในวงกว้างได้ถูกต้องมากน้อยแค่ไหนเพียงใดขึ้นอยู่กับวิธีการสุ่มตัวอย่างว่าจะสามารถได้มาซึ่งตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรได้มากน้อย แค่ไหน

คำศัพท์ทางวิชาการ (Technical Terms)
ประชากร (Population) หมายถึงจำนวนหน่วยทั้งหมดของสิ่งที่เราต้องการศึกษา เช่น จำนวนนักศึกษาทั้งหมดของ NCMU พระภิกษุในเชียงใหม่ สส. สว. ฯลฯ
ตัวอย่าง (Sample) หมายถึงส่วนย่อยของประชากรที่เราเลือกเอามาทำการศึกษา เช่น 5% ของนักศึกษา NCMU สส. 70 คนจากจำนวน สส. ทั้งหมด

ตัวอย่าง
ประชากร
ประชากร

- ค่าพารามิเตอร์ (parameter) ค่าต่าง ๆ ที่วัดได้จากประชากร นิยมใช้อักษรกรีก เป็นสัญลักษณ์
- ค่าสถิติ (statistic) ค่าต่าง ๆ ที่วัดได้จากตัวอย่างนิยมใช้อักษร โรมันเป็นสัญลักษณ์

หน่วยการสุ่ม (sampling unit) หน่วยสมาชิกแต่ละหน่วยของประชากร
กรอบการสุ่ม (sampling frame) บัญชีรายชื่อของ sampling unit ทุกหน่วยซึ่งในทางปฏิบัติมักใช้ sampling frame ที่มีอยู่แล้ว เช่นทะเบียนบ้าน บัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ฯลฯ

ต.ย. ความผิดพลาดในการใช้ sampling frame ที่ไม่เหมาะสม
1936 Literary Digest Poll ในการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
Franklin D. Roosevelt (D)
vs.
Alfred Landon (R)

- Sample Size 2.4 mil.
- 10 mil. Questionnaire being sent
- Literary Digest Poll ทำนายว่า Landon จะชนะ Roosevelt 57:43 %
- ผลปรากฏว่า Roosevelt ชนะถล่มทลาย 62:38%
- Literary Digest ใช้ sampling frame ไม่เหมาะสม คือใช้ สมุดโทรศัพท์ บัญชีรายชื่อสโมสร Country Clubs ฯลฯ
- ผลคือ Literary Digest เลิกกิจการไป
- ปัจจุบัน Gallup Poll ขึ้นมาแทนที่

ตัวอย่างหลัก (Master Sample) คือกรอบตัวอย่างมาตรฐานที่เราสร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษา วิจัย สำหรับเมือง หรือเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ขนาดตัวอย่าง (sample size) จำนวนหน่วยตัวอย่างที่เลือกมาทำการศึกษา ขนาดตัวอย่างจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับ
1. ลักษณะของ ประชากร
- homogeneous - เล็ก
- heterogeneous - ใหญ่
2. ทรัพยากรที่มี (เวลา งบประมาณ กำลังคน)
3. ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้น
ความเข้าใจผิด ๆ (misconception) เกี่ยวกับขนาดตัวอย่าง
1. ตัวอย่างควรจะเป็นสัดส่วนของประชากร (เช่นถ้าประชากรเป็นหลักร้อยเอา 25% ประชากรเป็นหลักพันเอา 10% ประชากรหลักหมื่นเอา 5% ฯลฯ)
2. ตัวอย่างควรมีจำนวนขั้นต่ำเท่านั้นเท่านี้
3. ตัวอย่างยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดีเพราะจะเพิ่มความถูกต้องในการเป็นตัวแทนของประชากร

วิธีการสุ่มตัวอย่าง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. Probability Sampling หมายถึงการสุ่มตัวอย่างแบบทราบโอกาสของความน่าจะเป็นในการที่แต่ละหน่วยของประชากรจะถูกเลือกเข้ามาไว้ในตัวอย่างซึ่งมีหลายวิธี
1.1 Simple-Random-Sampling (S-R-S) หรือการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งอาจทำโดย
(ก) การจับสลาก (Lottery method)
(ข) การใช้ตารางเลขสุ่ม (Table of Random Numbers)
1.2 Systematic Sampling หรือการสุ่มอย่างเป็นระบบ
I = N/n จำนวนประชากร
จำนวนตัวอย่าง

1.3 Stratified Sampling หรือการสุ่มแบบแบ่งชั้น
(1) แบ่งประชากรออกเป็นชั้น ๆ (strata)
(2) ให้ภายในชั้นเดียวกันมีลักษณะคล้ายกันมากที่สุด แต่ต่างชั้นกันให้ต่างกันมากที่สุด
(3) จากนั้นอาจทำการสุ่มแบบ S-R-S หรือ Systematic Sampling
1.4 Cluster Sampling หรือการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม การสุ่มแบบนี้ใช้กลุ่มประชากรเป็น sampling unit
(1) แบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม (clusters)
(2) ให้ภายใน clusterเดียวกันมีลักษณะต่างกันมากที่สุด แต่ระหว่าง cluster กันให้คล้ายกันมากที่สุด
(3) จากนั้นอาจทำการสุ่มโดยใช้ cluster เป็นหน่วยการสุ่ม (sampling frame) ให้ได้จำนวน cluster ตามจำนวนที่ต้องการ
1.5 Multi-Stage Sampling หรือการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยอาจใช้หลายวิธีผสมกัน ในแต่ละขั้นของการสุ่มอาจใช้วิธีการสุ่มที่แตกต่างกันไปจนกว่าจะถึงหน่วยการวิเคราะห์ที่เราต้องการ

2. Non-Probability Sampling หมายถึงการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบโอกาสของความน่าจะเป็นในการที่แต่ละหน่วยของประชากรจะถูกเลือกเข้ามาไว้ในตัวอย่างซึ่งมีหลายวิธี
2.1 Convenience or Accidental Sampling เรียกว่าการสุ่มตามสะดวกหรือการสุ่มแบบบังเอิญ เช่นเจอคนไหนก็เอาคนนั้นจนคบจำนวน และเพื่อลดความลำเอียงลงบ้าง อาจจะใช้วิธีทุก ๆ 5 คน ที่พบ เราเลือกเอาไว้ 1 คน เป็นต้น
2.2 Quota Sampling หรือการสุ่มแบบโควต้า ถ้าเรารู้สัดส่วนของประชากรเราอาจกำหนดโควต้าของตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร ถ้าไม่รู้เราก็อาจกำหนดโควต้าเอาตามที่ต้องการได้เลย
2.3 Purposive Sampling หรือการสุ่มตามวัตถุประสงค์อย่างเจาะจง
เป็นการเลือกตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เช่นต้องการศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการพัฒนาชนบทในพื้นที่ยากจน เราก็เลือกพื้นที่ยากจนขึ้นมาเลย

การรวบรวมข้อมูล(Data Collection)
1. การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (Mail questionnaire)
- ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้กรอกแบบสอบถามเอง แล้วส่งกลับมาให้ผู้วิจัยภายหลัง
ข้อดี
1. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
2. ลดความลำเอียงอันเกิดจากวิธีการถามหรือบุคคลิกของผู้สัมภาษณ์
3. ประกันความลับของผู้ตอบแบบสอบถามได้ดีกว่า
4. ให้โอกาสผู้ตอบได้คิด และไตร่ตรอง
5. ส่งถึงคนได้เป็นจำนวนมาก และรวดเร็ว
ข้อจำกัด
1. ใช้ได้เฉพาะคำถามง่าย ๆ
2. ถ้าคำตอบไม่สมบูรณ์ไม่สามารถแก้ไขได้
3. คนตอบแบบสอบถามอาจจะไม่ใช่คนที่เราต้องการให้ตอบ
4. อัตราการตอบกลับน้อย ประมาณ 20% (อาจแก้ไขได้บ้าง)
- ให้ค่าตอบแทนเล็กน้อย
- ขอร้องอย่างสุภาพ
- Follow-up
2. การสัมภาษณ์ส่วนตัว (Personal Interview)
2.1 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและใช้แบบสอบถาม
2.2 การ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่ใช้แบบสอบถาม
2.3 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
วิธี 2.2 และ 2.3 อาจใช้ในกรณีต้องการข้อมูลเชิงลึก หรือผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และประสบการณ์สูง
ข้อดี
1. มีความยืดหยุ่นสูง มีโอกาสถามซ้ำ และอธิบายคำถาม
2. อัตราการได้รับข้อมูลกลับสูงมาก
3. อาจใช้วิธีการสังเกตร่วมด้วยได้
ข้อจำกัด
1. เสียค่าใช้จ่ายสูง
2. อาจเกิดความลำเอียงจากการสัมภาษณ์
3. ไม่สามารถประกันความลับของผู้ให้ข้อมูลได้
ปัจจุบันมีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
หลักการสัมภาษณ์
1. เข้าใจคำถามอย่างถ่องแท้
2. สร้างความเป็นกันเองและความไว้วางใจ
3. แต่งกายเรียบร้อย มีบุคลิกดี
4. ไม่รบกวนเวลาทำงานปกติของผู้ให้สัมภาษณ์
5. เริ่มถามคำถามตามลำดับ
6. ไม่ถามนำ หรือโต้เถียง
7. ถ้าใช้เวลานานเกินไปอาจหยุดพัก หรือแบ่งเวลาสัมภาษณ์เป็นตอน ๆ
8. การสัมภาษณ์ไม่ใช่การสอบสวนหรือการสอบปากคำ
9. จดบันทึกการสัมภาษณ์ทันที
10. จบการสัมภาษณ์แบบรักษามิตรภาพไว้
3. การสังเกต (Observation)
การสังเกตช่วยนักวิจัยได้มากเพราะ บางครั้งเป็นวิธีเดียวที่จะได้ข้อมูล และให้ข้อมูลได้ละเอียดและตรงความจริงมากกว่าวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบอื่น
ข้อดี
1. ไม่รบกวนเวลาของผู้ให้ข้อมูล
2. ความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจัยเอง
ข้อจำกัด
1. อาจสังเกตผิดได้ สิ่งที่เรากำลังสังเกตไม่ใช้สิ่งทีเราต้องการสังเกต
2. อาจเกิด bias หรือเข้าใจผิดได้เพราะผู้สังเกต กับผู้ถูกสังเกตมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมต่างกัน
3. พฤติกรรมของผู้ถูกสังเกตไม่เป็นธรรมชาติ
การสังเกตอาจแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
(1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)
วิธีการนี้ผู้สังเกตจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของผู้ถูกสังเกต เข้าร่วมในกิจกรรมทุกอย่างจนผู้ถูกสังเกตรู้สึกว่าผู้สังเกตเป็นสมาชิก หรือเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของคน ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนภายนอก วิธีนี้ใช้กันมากในการวิจัยทางมานุษยวิทยา
(2) การสังเกตแบบไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม (Non-participant observation)
วิธีนี้ผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพียงแต่เข้าไปทำการสังเกตอย่างเดียว
การสร้างแบบสอบถาม (Questionnaire)
แบบสอบถาม (Questionnaire) หมายถึงชุดของข้อคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งนักวิจัยใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งนิยมใช้มากในการวิจัยเชิงสำรวจ ชุดของคำถามอาจจะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทัศนคติ หรือประสบการณ์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยต้องการทราบ
คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง มักมีลักษณะตรงไปตรงมา เช่นคำถามเกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนแหล่งน้ำ จำนวนประชากร ฯลฯ
คำถามเกี่ยวกับทัศนคติ หรือความคิดเห็น เป็นคำถามที่มีความสลักซับซ้อนมากขึ้น ไม่สามารถใช้วิธีการถามตรงไปตรงมาได้
ทัศนคติ เป็นผลรวมของความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เป็นความคิด หรือความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่ง
ความคิดเห็น เป็นการแสดงออกด้วยถ้อยคำที่สะท้อน หรืออธิบายทัศนคติของบุคคลออกมา เช่นท่านคิดว่าเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบควรฝึกมวยอาชีพหรือไม่ (ควร ไม่ควร)
ชนิดของคำถามในแบบสอบถาม
1. คำถามปิด (Closed-ended questions)
เช่น ท่านคิดว่าการตัดสินใจมาเรียน รปศ. เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้วหรือไม่
(1) ถูกต้องแล้ว
(2) ไม่ถูกต้อง
(3) ไม่แน่ใจ
ข้อดี
1. ง่ายแก่การวิเคราะห์
2. สะดวกในการตอบ
ข้อเสีย
1. แข็ง
2. จำกัดเสรีภาพของผู้ตอบ
3. บางทีคำตอบที่ให้ไว้ไม่ครอบคลุม
2. คำถามเปิด (Open-ended questions)
ท่านเลือกเรียน รปศ. เพราะเหตุใด …………………………..
ท่านคิดว่าปัญหาเร่งด่วนที่สุดในการเรียน รปศ. ขณะนี้คือ อะไร………………
ข้อดี - ได้คำตอบลึกซึ้ง และครอบคลุม
ข้อเสีย 1. ยากแก่การตอบ
2. ยากแก่การวิเคราะห์
3. คำถามต่อเนื่อง หรือคำถามที่มีเงื่อนไข (Contingency questions)
เช่น - ท่านสนใจจะซื้อบ้านหลังที่สองหรือไม่
(1) สนใจ
(2) ไม่สนใจ
- ถ้าสนใจ ท่านสนใจบ้านประเภทใด
(1) บ้านเดี่ยว (3) ทาวน์เฮ้าส์
(2) บ้านแฝด (4) คอนโดมิเนียม
ลำดับขั้นในการสร้างแบบสอบถาม
1. กำหนดประเภทและเนื้อหาของข้อมูลที่ต้องการ
- ความรู้
- ข้อเท็จจริง
- ความคิดเห็น
- ทัศนคติ
2. กำหนดประเภทของคำถาม
- คำถามปิด
- คำถามเปิด
- คำถามต่อเนื่อง
3. ขั้นลงมือร่างแบบสอบถาม
4. ตรวจสอบ ปรับปรุง
- ด้วยตนเองก่อน
- ให้ผู้เชี่ยวชาญ comment
5. ทดสอบแบบสอบถาม (pre-test)
- validity (เรากำลังวัดสิ่งที่เราต้องการวัดหรือเปล่า)
- reliability (เราวัดได้ผลเหมือนกันทุกครั้งหรือเปล่า)
- เวลาที่ใช้ในการตอบ ความเข้าใจของผู้ตอบ
กลุ่มประชากรที่ใช้ pretest
(1) จำนวนไม่ต้องมากนัก
(2) ไม่ใช่กลุ่มเดียว กับประชากรที่ศึกษาเพื่อหลีกเลี่ยง Hawthorne Effect
6. ปรับปรุงแก้ไขหลัง pretest
7. จัดพิมพ์

ข้อควรคำนึงในการร่างแบบสอบถาม
1. เริ่มจาก - ง่ายไปหายาก
- ใกล้ตัวไปหาไกลตัว
- ข้อเท็จจริงไปหาความคิดเห็นหรือทัศนคติ
2. ใช้ถ้อยคำชัดเจนไม่กำกวม เช่น
- บ้านที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้ราคาเท่าใด
(ราคาในขณะนี้ หรือราคาที่ซื้อมา)
3. คำถามต้องเหมาะสมกับผู้ตอบในแง่ความยากง่าย และภาษาที่ใช้
- พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภาผู้แทนราษฎรหมายความว่าอย่างไร
- ท่านคิดว่าอำนาจอธิปไตยจะมีทางเป็นของประชาชนได้อย่างแท้จริงได้ในกรณีใดบ้าง
- คดีอุทลุมควรยกเลิกหรือไม่
4. ไม่ควรมี 2 คำถามในข้อเดียวกัน เช่น
- ท่านเห็นด้วยกับการลดอัตรากำลังและเพิ่มสวัสดิการข้าราชการหรือไม่
5. ไม่ควรใช้คำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น
- ท่านคิดว่ารัฐบาลควรออกกฎหมายห้ามไม่ให้ข้าราชการใช้เวลาอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่
6. ไม่ควรใช้คำถามนำ เช่น
(การส่งข้าวไปช่วยอัฟริกา)
7. คำถามที่มีลักษณะคุกคาม หรือ อ่อนไหว ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
- ยาเสพติด
- sexual preferences
- child abuse
8. คำถามควรครอบคลุมประเด็นที่ต้องการศึกษาครบถ้วน
- จากวัตถุประสงค์
- จากสมมุติฐาน
แบบสอบถามทัศนคติโดยการประมาณค่าแบบรวม (Summated Rating) การสอบถามทัศนคติมักทำเป็น Rating Scale ที่นิยมกันมากได้แก่ Likert Scale ซึ่งมักมี 5 ลำดับขั้นด้วยกัน
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากนั้นจะทำการกำหนดคะแนนเช่น
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5
เห็นด้วย 4
ไม่แน่ใจ 3
ไม่เห็นด้วย 2
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1
หรืออาจกำหนดให้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2
เห็นด้วย 1
ไม่แน่ใจ 0
ไม่เห็นด้วย -1
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง -2

ต.ย. ทัศนคติต่ออาชีพพยาบาล
5 4 3 2 1
1. อาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่มีเกียรติ
2. อาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือสังคม
3. อาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่เสียสละ

5 4 3 2 1
4. อาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง
5. ข้าพเจ้าอารมณ์เสียทุกครั้งที่เจอผู้ป่วย
6…………………………...
7…………………………...
การลงรหัส (Coding)
1 2 3




4
1. เพศ (1) ชาย
(2) หญิง
5 6
2. อายุ ………ปี

7
3. การศึกษา (1) ประถมศึกษา
(2) มัธยมศึกษา
(3) ปริญญาตรี
(4) สูงกว่าปริญญาตรี
(5) ไม่มีการศึกษา
8 9 10 11 12
4. รายได้ต่อเดือน ………….บาท

ผลการลงรหัสจะปรากฏดังนี้
001126502500
002225306000
003228425000
004148103500

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น